วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผังมโนทัศน์




วิเคราะห์วิจารณ์

คุณค่าด้านเนื้อหา
    แนวคิด  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก  รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม
     ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน  มีการตั้งค่าย  การใช้อาวุธ  และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
     ปมขัดแย้ง  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีหลายข้อแย้ง  แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง  และสมเหตุสมผล  เช่น
          ปมแรก  คือ  ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา  แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
          ปมที่สอง  คือ อ่านเพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม

    กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก
         แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสใน อ่านเพิ่มเติม

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

กั้นหยั่น   อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว มีด 2 คม
กิดาหยัน     ผู้มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน
เจียระบาด   ผ้าคาดเอวชนิดหนึ่ง มีชายห้อยที่หน้าขา
ชักปีกกา      รูปกองทัพที่ตั้งมีกองขวา กองซ้ายคล้ายปีก
ชิงคลอง      แย่งทางที่ตนจะได้เปรียบ
ตะหมัง        เสนาผู้ใหญ่
แน่นนันต์    มากมาย
ประเสบัน    ที่พักของเจ้านาย
โพยมบน     ท้องฟ้าเบื้องบน
ภัสม์ธุลี        ผง,ฝุ่น,ละออง
กั้นหยั่น 

ข้อคิดที่ได้รับ

๑.ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู
๒.ความรักในศักดิ์ศรี การมีขัตติยมานะหรือความสำนึกในเกียรติแห่งวงศ์ของตนเอง
๓.รักษาคำสัตย์ การรู้จักรักษาคำพูดเมื่อพูดอย่างไรก็ต้องทำตาม
๔.การรู้จักให้อภัย การไม่ถือโทษโกรธแค้นกันและกัน

๕.ความรักและความหลงใหลควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักและความหลง

เนื้อเรื่องย่อ


เรื่องย่ออิเหนา  ( ตอนศึกกะหมังกุหนิง )
  ท้าวกะหมังกุหนิงกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อ  วิหยาสะกำ  ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า  องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ซ่อนรูปวาดบุษบาไว้  เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงรักนางจนคลั่ง   ท้าวกะหมังกุหนิงสืบทราบว่านางคือบุษบา  ธิดาท้าวดาหาที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว   แต่ด้วยความรักและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำแต่เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาเมืองดาหาเพื่อจะชิงตัวบุษบา
  ท้าวดาหาส่งพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน (พี่ชาย)  ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี (น้องชาย)  และจรกาให้ยกทัพมา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่าฉิม เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงกระบัตร เมืองราชบุรี
            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรง เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆสิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา พระองค์ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถ (พระราชบิดา) ไปราชการสงครามด้วย และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่าพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๒ พรรษา ก็ได้ทรงผนวช ณ อ่านเพิ่มเติม